วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานวิจัยสื่อ

การใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
ของ : นางสาวศรีวิไล ยลสุริยัน  ปี:  พ.ศ. 2542
นักศึกษามหาวิทยาลัยสารคาม
บทคัดย่อ :
            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบที่มีต่อความเข้าใจการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านรามัน จำนวน 84 คน ซึ่งได้รับมาจากการสุ่มแบบมีระบบ เข้ารับการทดลองแบบ 4 กลุ่ม โซโลมอน ทุกกลุ่มมีนักเรียน ที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ต่างกันในจำนวนที่เท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านมีภาพการ์ตูนประกอบ และกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยไม่มีภาพการ์ตูนประกอบ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านการ์ตูนประกอบ ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยไม่มีภาพการ์ตูน แผนการสอนอ่าน ที่ใช้สำหรับกลุ่มทดลอง 30 แผน กลุ่มควบคุม 30 แผน ใช้เวลาทดลองกลุ่มละ 30 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (
t-test)
และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า  :
            1. ความเข้าใจนากรอ่านของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะการอ่านโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
            2. เมื่อนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่านจากการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบแล้ว นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านจากการอ่านไม่แตกต่างกัน ทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
            3. เมื่อนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่านจากการใช่ชุดฝึกทักษะการอ่านโดยมีภาพการ์ตูนประกอบแล้ว นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อคอมพิวเตอร์ประเภทออนไลน์

ธรรมชาติและความหมายของสื่อออนไลน์
        สื่อออนไลน์ (Online Media) สื่อที่เป็นสื่อทางเลือก สื่อเสริมหรือสื่อใหม่ เข้าถึงได้ตลอดเวลา โต้ตอบกับผู้รับสารได้ในทันที จัดเก็บสารสนเทศไว้ได้โดยง่าย เช่น เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เอ็กทราเน็ต (Extranet) บริการส่งข้อความสั้น (SMS) บริการส่งข้อความสื่อผสม (MMS) เน้นความสดใหม่ของข่าวเน้นข่าวเชิงลึก (ข่าวเชิงสืบสวน)เน้นส่วนร่วมผู้อ่านผ่านกระดานข่าว (web board), เน้นส่วนร่วมโดยสร้างพื้นที่ส่วนตัวหรือ Blog, เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานข่าวเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์

ข้อเด่นของสื่อ online
            สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน
            สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด 
            ประหยัดเวลาในการศึกษาสื่อ
           สามารถศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
 ข้อด้อยของสื่อ online
            การป้องกันข้อมูลจากการระเมิดสิทธิเป็นไปได้ยาก 
           เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำบางสื่อไม่สามารถใช้ศึกษาเชิงวิชาการได้
           ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
หลักการใช้สื่อออนไลน์(Online)
           การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา  แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง
               คนอ่านไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ หรือต้องใช้เวลากับสิ่งหนึ่งนานๆ ดังนั้น เมื่อเข้ามาเพื่ออ่านข้อความสักหนึ่งข้อความ ผู้อ่านต้องการทราบโดยรวดเร็วว่า บทความหรือเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องอะไรที่เขาจะอ่านในบทความได้บ้าง โดยลักษณะการอ่านก็คือ การกวาดสายตา

สื่อคอมพิวเตอร์ประเภทออฟไลน์


สื่อคอมพิวเตอร์ออฟไลน์
ธรรมชาติของสื่อคอมพิวเตอร์ออฟไลน์(Offline)
                แบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น
        ข้อเด่นของสื่อ offline
             สามารถใช้ได้ทุกที่ๆมีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว
        ข้อด้อยของสื่อ offline
            ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
หลักการใช้สื่อออฟไลน์   
            เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุงสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็นและคุ้นตากับ

สื่อประเภทเครื่องฉาย

ธรรมชาติของสื่อประเภทเครื่องฉาย
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรัยนการสอน ได้แก่   เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
        ข้อเด่นของสื่อ
1.สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2.เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก
ข้อด้อยของสื่อ
        1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
        2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
        3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก
หลักการใช้สื่อ
1. แบ่งตามระบบการฉาย 
        1.1.  ระบบการฉายตรง (Direct Projection) เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ
                1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย  แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส
                 1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉายระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง
2.  แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
                   2.1  เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น 
                   2.2  เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.  แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
                   3.1  เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (Transparency Projector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (Transparency Materials)  เช่น  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
                   3.2  เครื่องฉายภาพทึบแสง  (Opaque Projector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
                   3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง
4.  แบ่งตามลักษณะการใช้งาน  ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ  เช่น
                   4.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                   4.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                   4.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                   4.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.  แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
                   5.1  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย เช่น
                         5.1.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                         5.1.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                         5.1.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                         5.1.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง 
                   5.2  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร  โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค  LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT  จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น  DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล  เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น  จนแทบจะกล่าวได้ว่า  เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว 

สื่อประเภทกิจกรรม

สื่อการสอนประเภทกิจกรรม

           เป็นสื่อการสอนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนความหมายของสื่อการสอนประเภทกิจกรรมกิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฎิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้

           สื่อการสอนประเภทกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วยการ ดูการฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัส จับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น

          ประเภทของสื่อประเภทกิจกรรมการสาธิตการสาธิต คือ 
                    กระบวนการที่ผู้สอน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดง หรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก การอธิบาย ให้ผู้เรียนได้สังเกตและเรียนรู้ ผู้เรียนจเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต ซึ่งทำให้การสอนแบบสาธิตมีคุณค่าหลายประการคุณค่าของการสาธิต

สื่อสิ่งพิมพ์

ความหมายและธรรมชาติของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ คือ  สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
       สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
              - หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
             - หนังสือบันเทิงคดี
                  เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้
    
      สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
               - หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและ
ความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวันรายสัปดาห์ และรายเดือน
                - วารสารนิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสารนิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน
               - จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษา
หาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ
                - สิ่งพิมพ์โฆษณา
                         - โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่ม
จำนวน หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
                         - ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย 
                         - แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้น
เป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ
                         - ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ
    
       สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
    
       สิ่งพิมพ์มีค่า
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย เช่น ธนาณัติบัตรเครดิตเช็คธนาคารตั๋วแลกเงินหนังสือเดินทางโฉนด เป็นต้น
           สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ

                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน ได้แก่ นามบัตรบัตรอวยพรปฎิทิน,บัตรเชิญ,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,สิ่งพิมพ์บนแก้ว ,สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น 
      
     สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
                 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ Document Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น

ข้อเด่น ของสื่อสิ่งพิมพ์

1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายได้
3. รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายถูก
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
6. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกัน
7. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีขีดจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
8. สื่อมีอายุยาวนาน
9. มีความคงทนถาวร
10. มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และงบประมาณของสถาบันได้ง่าย

ข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี
2. ผู้อ่านจะเลือกอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเขา
3. งบประมาณเป็นอุปสรรคในการจัดทำ
4. ยุบหรือเลิกง่าย
5. มีวัตถุประสงค์ไม่แน่นอน หรือขาดความรู้ที่น่าสนใจ
6. การเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม
หลักการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
             1. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สาระ และความบันเทิง ซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์วารสารนิตยสาร เป็นต้น
            2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้เรียน ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
            3. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น งานโฆษณา ได้แก่ การผลิต หัวจดหมาย/ซองจดหมายใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ,โฆษณาหน้าเดียวนามบัตร เป็นต้น
             4. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคาร ซึ่งรวมถึง งานการเงิน 
และงานที่เกี่ยวกับ หลักฐานทางกฎหมาย ได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น ใบนำฝากใบถอนธนบัตรเช็คธนาคารตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
              5. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก สื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า ปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่าง ๆ ใบปลิวแผ่นพับ,จุลสาร